วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พี่สอนน้อง Ward 1



    จากการทำงานตลอดระยะเวลา  ปีที่ผ่านมา  ดิฉันได้รับการสอนน้องถึง  รุ่น  ซึ่งเรื่องที่ฉันได้สอนได้แก่  เรื่อง  โรคหัวใจและหลอดเลือด  แยกเป็นผู้ป่วย Stroke และ ผู้ป่วย CHF ,  การแยกประเภทผู้ป่วยการลงบันทึกกิจกรรมการพยาบาล  ซึ่งในปีแรก ๆ ดิฉันก็ไม่ได้เก่งและมีความชำนาญมากนัก  เป็นแค่ผู้ช่วยคุณพรพิมล  ธนะบุตร ที่เป็นรุ่นพี่ของดิฉัน  และเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องดังกล่าว  แต่หลังจากที่คุณพรพิมลย้ายไป ดิฉันก็ได้รับหน้าที่อย่างเต็มตัว  ดิฉันทำงานดังกล่าว  ปี  โดยไม่มีผู้ช่วย  ลองผิดลองถูกและปรึกษากับหัวหน้าและทีมการพยาบาลในหอผู้ป่วยใน  1    ซึ่งถือว่าเป็นตัวช่วยและกระตุ้นให้ดิฉันทำงานนี้ได้  และหลังจากนั้นปีที่  ฉันก็ได้น้องใหม่มาช่วย  คน  คือ  น้องศิริพร  ชรินทร์  ฉันดีใจมากที่ตอนนี้ฉันมีผู้ช่วยแล้ว  โดยไม่ต้องทำงานโดดเดี่ยวอีกต่อไป  ซึ่งน้องเป็นคนขยัน  มีความมุ่งมั่นในการทำงาน  รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย  แบ่งเบาภาระงานของฉันได้มาก  ฉันรู้สึกอบอุ่นใจ  ถ้าหากฉันหยุดงานหรือลาพักผ่อน  อย่างน้อยน้องก็สามารถเป็นตัวแทนที่จะทำงานดูแลผู้ป่วยและดูแลการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยได้อย่างครอบคลุม
         เรื่องแรกที่ฉันสอน  คือ  การทำ D/C Plan ผู้ป่วย Stroke เนื่องจากหอผู้ป่วยใน  1  ต้องรับผู้ป่วยหนัก,  ผู้ป่วยสูงอายุซึ่งมีภาวะเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรค,  ผู้ป่วยที่กลับมา หลังจาก Refer มาจากโรงพยาบาลเลย  ดังนั้นก็แน่อยู่แล้วที่ตึกของดิฉันจะต้องมีผู้ป่วย  Storke  มา Admit   ซึ่งต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลอย่างน้อย  4-5 วัน  จนจำหน่าย กลับบ้าน พยาบาลหอผู้ป่วยใน  1  ทุกคนรู้ว่าต้องประเมินการทำ  D/C Plan Storke ไว้ ให้ดิฉันเพื่อประเมินและวางแผนการจำหน่าย มีการลงข้อมูลบางส่วนให้  และส่วนที่พยาบาลไม่ชอบลงข้อมูลคือ  ด้านความสามารถตามดัชนีบาร์เธอ เอดีแอล (Barthel ADL  Indey)  และแบบประเมิน  NIHSS (The  National Institute of Health Stroke Scale (0-42) )    ซึ่งชื่อหัวข้อก็น่ากลัวแล้ว    แถมในใบประเมินทุกตัวก็เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด  ซึ่งคนที่ชอบประเมินให้ฉันคือ พญ.ทิพพาวดี  สืบนุการณ์  ส่วนน้องใหม่ที่สอนก็จะทำในช่วงแรก  แต่หลังจากนั้นก็ว่างเหมือนเดิม  จะทำบ้าง Barthel ADL Indey แต่ปีนี้ดิฉันได้ทำแบบประเมิน  NHISS  เป็นภาษาไทยแล้ว  ก็หวังว่าพยาบาลทุกคนจะทำแบบประเมินให้  และกรอกข้อมูลลงใน  D/C Plan  Stroke ให้ดิฉัน  อย่างน้อยน้องศิริพร  คนหนึ่งที่ต้องช่วยทำแน่ๆ
        ส่วนเรื่องที่สองคือ  D/C Plan CHF  อย่างน้อยหอผู้ป่วยใน ต้องมีผู้ป่วย Admit 2-3 คน / เดือน  เรื่องนี้ไม่ค่อยจะมีปัญหา เพราะเป็นเรื่องที่ง่าย  เป็นการประเมิน และค้นปัญหาของผู้ป่วย  ปัญหาส่วนมากของผู้ป่วยก็คือการกินอาหารที่มีรสเค็ม  และการเติมผงชูรสในอาหาร  ส่วนใหญ่ผู้ป่วย  และญาติก็จะทราบการดูแลตนเองแต่ไม่ได้ปฏิบัติตาม  และส่วนที่ทุกคนจะไม่ลงข้อมูลอีกส่วนหนึ่งคือ  การให้ความรู้เรื่องยา  คงคิดว่าเป็นหน้าที่ของเภสัชกร  ที่จะต้องเป็นผู้ให้ความรู้แต่เภสัชกร จะเข้ามาดูผู้ป่วยในรายที่มีปัญหา หรือแพทย์ Consult เท่านั้น  ที่เหลือก็เป็นหน้าที่ของเรา  อย่างน้อยก็ช่วยเขียนชื่อยาให้ดิฉันก็ยังดี  แต่ตอนนี้ดิฉันได้จัดหาเอกสารเกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือด (จัดทำโดยคุณปัญญาภรณ์)    มาไว้ที่ตึกแล้ว  อย่างน้อยก็มีเจ้าหน้าที่นำไปให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วย  และญาติได้  ในเอกสารจะมีชื่อยาข้อบ่งใช้อาการข้างเคียง, ซึ่งส่วนใหญ่เป็นยาที่ใช้บ่อย  และมีใช้ในโรงพยาบาลของเรา  ส่วนการแนะนำของดิฉันส่วนใหญ่จะแนะนำว่าเป็นยาอะไร  และยาดังกล่าว  จะมีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง  เช่น ยา Furosemide  เป็นยาขับปัสสาวะลดบวม   อาการข้างเคียง  คือ  ปัสสาวะบ่อย  ปวดศรีษะอ่อนเพลีย, ใจสั่น  ฯลฯ  ซึ่งผู้ป่วย  และญาติต้องทราบข้อมูลนี้เพื่อการดูแลตนเองที่ถูกต้อง
 
            ส่วนเรื่องสุดท้าย คือการสอนการแยกประเภทผู้ป่วย  และการลงบันทึกกิจกรรมการพยาบาล  การแยกประเภทผู้ป่วย  เราก็จะเน้นที่ผู้ป่วยหนัก  4a  คือผู้ป่วยหลังผ่าตัดผู้ป่วยที่ให้ยา  Dopamine  ,  ผู้ป่วยที่ต้อง Obs. N/S  และ V/S ทุก 1-2 ชั่วโมงผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะ Shock ทำให้เห็นภาระงานของเรา  รองลงมาก็ประเภท  3a  คือผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้   ผู้ป่วยที่  On O2 Cannula หรือ On Mask ตลอดเวลาผู้ป่วย On ICD,  ผู้ป่วยหลัง off  Dopamine ,  ผู้ป่วยที่มีภาวะ Hypo- Hyperglycemia บ่อย ๆ ผู้ป่วยที่ UGIH  ต้องให้เลือดและเจาะ Hct ทุก 6 ชั่วโมง ฯลฯ และผู้ป่วยประเภท  2 กับ 1 ก็จะน้อยมาก  เพราะถือว่าเป็นผู้ป่วยที่ไม่ต้องการดูแลอะไรมาก  พร้อมที่จะ D/C  ได้ ส่วนผู้ป่วยประเภท  1 D  ของดิฉัน คือ  ผู้ป่วยที่ของลากลับบ้าน  หรือขอไป F/U  ที่โรงพยาบาลเลย  เพราะเราไม่ต้องดูแลผู้ป่วยเลย  ส่วนการลงบันทึกกิจกรรมการพยาบาลถือว่าเป็นเรื่องที่ง่าย  ขึ้นอยู่กับน้องใหม่ หรือเจ้าหน้าที่จะลงข้อมูลกันหรือไม่  ดิฉันจะให้น้องลงกิจกรรมตอนสอนน้องช่วงแรก ๆ จะมีปัญหาบ้างก็คือ  ไม่ลงกิจกรรมนั้นไว้ก่อน  ทำให้ Loss กิจกรรมบางอย่างที่ทำหลังจากลงบันทึกส่วนพี่เก่าที่เจอเป็นประจำ  คือ  ลืมลงบันทึกกิจกรรม  เวรใดเวรหนึ่ง  หรือลืมลงกิจกรรมบางอย่าง  ดิฉันก็จะตามหัวหน้าเวรนั้นมาลงให้  เพราะกิจกรรมการพยาบาลถือเป็นหน้าที่ Incharge ในเวรนั้น ๆ ที่จะต้องลงบันทึก  นอกจาก Incharge มอบหมายให้คนใดคนหนึ่งลง  ส่วนน้องใหม่ก็ต้องรอเป็น Incharge ก่อนค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น