วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

น้องใหม่...วัยใสใส...2


      ความรู้สึกนับตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำงานก็เปลี่ยนแปลงจากวันแรกมาก  เพราะได้รู้จักคุ้นเคยกับพี่ ๆ มากขึ้น  พี่ ๆ แต่ละคน  “น่ารัก”  เอาใจใส่ ให้คำแนะนำเป็นอย่างดี  ซึ่งความรู้สึกในตอนนี้ก็ไม่ได้แตกต่างกันมาก  เมื่อเทียบกับการเป็นนักศึกษาพยาบาล  เหมือนกันมากจนแยกไม่ออก  ต่างกันก็แค่ชุดเท่านั้น   แต่ที่น่ากดดันกว่านั้น  คือ  เรียนจบมาแล้ว  พี่ ๆ ถามทักษะความรู้เดิมที่เคยเรียนมา  แล้วตอบไม่ได้  ก็ต้องไปค้นคว้าหามาตอบ  เพื่อเป็นการทบทวนความรู้  ทักษะต่าง ๆที่ต้องนำมาใช้ในการดูแลชีวิตของผู้ป่วยที่อยู่ในความรับผิดชอบ หน้าที่อันยิ่งใหญ่  ของการเป็นพยาบาลที่ดี ตอนนี้ก็เหมือนก้าวแรกของการทำงานในวิชาชีพพยาบาล  อะไร ๆ ก็ยังไม่ค่อยลงตัว  ความรู้สึกกดดัน  เกรงอกเกรงใจยังมีมากเหลือเกินบางสถานการณ์ จนทำให้วางตัวไม่ถูก  ไม่รู้จะเริ่มทำอะไรก่อน-หลัง  อาทิหลังรับเวรเสร็จ จะต้องทำอะไรอันดับแรก  ไม่รู้จะยืนตรงไหน  ต้องพยายามวิ่งตามเข้าหาพี่ เพื่อที่จะเรียนรู้งาน  ยังไม่ค่อยเข้าใจ  บทบาทหน้าที่ของ  In charge,  leader,  Member  เท่าที่ควร  คือตอนแรกเข้าใจว่า  leader  ต้องเป็นคนมอบหมายงานให้  Member  ว่ามี  treatment   อะไรบ้างที่จะต้องทำ  ซึ่ง  leader ที่จะรับมอบหมายงานจาก  In charge  อีกที  แต่พอทำงานได้หลายวันเข้า  ก็เริ่มเข้าใจ  เรียนรู้ว่า  Member  ต้องไปดู  Chart  ผู้ป่วย  Order  แพทย์เองเพื่อจะทำ  treatment ต่าง ๆ ซึ่งบริบทของโรงพยาบาลจังหวัดกับโรงพยาบาลประจำอำเภอแตกต่างกันมาก ที่นี้เหมือนทุกคนจะช่วยกันไปหมด  ไม่ได้ชัดเจนตายตัว  ว่าหน้าที่คนโน้น  คนนี้  ยกเว้น  In charge  ที่บริบทไม่แตกต่างกันมาก  ซึ่งตอนนี้  หน้าที่ของพยาบาลน้องใหม่ต้องพยายามปรับตัว  เรียนรู้งานให้ได้มากที่สุด  เพื่อเป็นการพิสูจน์  ตนเองว่ามีการพัฒนาเรียนรู้งานได้มากยิ่งขึ้น
       สำหรับสิ่งที่อยากให้พี่ ๆ สอน แนะนำเพิ่มเติม “เทคนิคการใส่ สาย Foley’s cath”  เพราะจากที่เรียนมาเคยใช้ถุงมือ  คู่  พอมาใช้คู่เดียวเลยทำให้ไม่ Sterile แต่สำหรับเรื่องอื่น ๆ ที่ตึก IPD 1 ยังไม่มีอะไรแนะนำเพิ่มเติม  และท้ายที่สุดสำหรับตัวดิฉันเองการเรียนจบมาเป็นพยาบาลน้องใหม่  ก็ยังจับจุดยืนไม่ได้ว่าตนเองอยู่ฝ่ายไหน    แผนกอะไร  ก็เลยคิดว่าลองทำงานไปเรื่อย ๆ ก่อน  แต่ที่แน่ ๆ ไม่ชอบห้องคลอดเป็นอย่างมาก  เลยคิดว่าอยู่แผนกไหนก่อนก็ได้สำหรับน้องใหม่  เพราะเรายังไม่สามารถที่จะเลือกได้  คิดอยู่อย่างเดียวตอนนี้  คือ  ต้องเรียนรู้งานให้ได้มากที่สุด  ผ่านพ้นช่วงทดลองงาน  สอบผ่านสภาที่เหลืออีก  2  วิชาทุกอย่างก็จะดีขึ้น  ความเครียดและความกดดันก็คงลดน้อยลง  แต่ก็บอกตัวเองไว้เสมอว่า “ความอดทน  ความพยายาม  การทำงานด้วยใจรักและมุ่งมั่น”  ก็จะทำให้เราผ่านพ้นอุปสรรคนี้ไปได้ด้วยดี  และทำงานอย่างมีความสุขในวิชาชีพการพยาบาล


น้องใหม่.....วัยใสใส...


       ความรู้สึกตอนแรกที่ได้รู้ว่าจะได้ทำงานที่  Ward 1 รู้สึกหนักใจมาก  เพราะว่า ทราบมาจากหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล  (พี่เปรมว่าเป็นจุดบริการที่คนไข้หนัก  ซึ่งเป็นพยาบาลที่จบมาใหม่ ๆ ประสบการณ์ก็ไม่มี  กลัวทำไม่ได้  และอีกอย่างโดยส่วนตัวแล้วก็ไม่ค่อยชอบทำงานบน Ward สักเท่าไหร่  เพราะว่าไม่ค่อยชอบทำอะไรที่ทำซ้ำ ๆ     เดิม ๆ  ทีแรกก่อนที่จะมาอยู่โรงพยาบาลนี้ก็คิดอยู่เหมือนกันว่าชอบ Ward ไหน    อยากทำงานที่ไหน  ห้องคลอด คงจะเลือกเป็น  Ward  สุดท้าย  หรือไม่เลือกเลย  เพราะว่าเป็น Ward ที่ไม่ชอบมาก ๆ ในใจก็คิดว่าได้อยู่ที่  Ward  อยู่ก็อยู่  ก็ดีกว่าอยู่ห้องคลอดก็แล้วกัน
        ถ้าหากเลือกได้  คงจะเลือกทำงานที่  OR เพราะอยากเป็น Scrub Nurse ที่เก่ง มีความสามารถและอีกอย่างก็คิดว่า ทำงานที่ OR ไม่ต้องพูดกับผู้ป่วยเยอะ ขึ้น – ลง เวร ตรงเวลา
           พอมาทำงานที่  Ware  วันแรกก็รู้สึกดีนะ พี่ ๆทุกคนอบอุ่น  ใจดี  ให้การต้อนรับดีไม่ได้เลวร้ายอย่างคิดไว้  ก็เลยรู้สึกอุ่นใจในการทำงานขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง  เพราะทีแรกคิดว่าถ้าทำอะไรไม่เป็นพี่ ๆ ต้องด่าแน่ ๆ เลย  และถ้าพี่ถาม/ซัก  ตอบไม่ได้  ต้องรู้สึกอายแน่ ๆ เลย  แต่พอมาอยู่ได้ประมาณ  อาทิตย์ก็ไม่ได้เป็นอย่างที่คิด  พี่ ๆ ทุกคนใจดี  น่ารัก  สอนดี  ก็คิดว่าถ้าทำงานที่  Ward นี้ก็น่าจะรู้สึก  Work  และ Happy  และอีกใจหนึ่งก็คิดอยู่เหมือนกันว่า  ถ้าทำงานที่  IPD 1  ซึ่งเป็น Ward  ผู้ป่วยหนัก  ก็จะเป็นพยาบาลที่เก่ง  มีความสามารถรอบด้าน  และรู้ทุกโรคอย่างพี่ ๆ
          ความรู้สึก ณ. ขณะนี้รู้สึกคับข้องใจและขัดแย้งในใจมาก ๆ เลย  ว่าทำไมต้องเขียน  Nurse  note  ใส่กระดาษ  เพราะรู้สึกว่าตอนเป็นนักศึกษาก็เป็นแบบนี้  จบมาเป็นพยาบาลแล้ว  ยังต้องทำอยู่อีกเหรอ  แต่พอได้มาฟังพี่ ๆ หลาย ๆ คน เล่าให้ฟังว่าสมัยก่อนตอนที่จบมา  พี่ก็ได้ทำแบบนี้แหละ  ก็เลยรู้สึกว่าโอเคนะรับได้  และเข้าใจว่าคงจะเป็นวิธีสอนงาน  ให้น้องใหม่ทุก ๆ รุ่น  ให้เป็นพยาบาลที่เก่ง    สำหรับตัวหนิงเองนะค่ะ  ไม่ว่างานจะหนักหนาแค่ไหน  แต่ถ้าอยู่แล้วรู้สึกสบายใจ   อบอุ่นใจ  มีความสุข  ก็พร้อมที่จะสู้กับงานนั้นอย่างเต็มที่ค่ะ  และพยายามหมั่นหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอค่ะ

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

คุณค่า...งานผู้ช่วยเหลือคนไข้ Ward 1


        ชุดสีฟ้าครีม  คือ  ชุดประจำของพวกเรา  ผู้ช่วยเหลือคนไข้  รพร.ด่านซ้าย  ซึ่งโรงพยาบาลอื่นใส่ชุดสีเหลือง เวลาโรงพยาบาลอื่นอื่นมาดูงานชอบบอกเราเสมอว่าชุดของผู้ช่วยเหลือคนไข้  รพร.ด่านซ้าย   สวยดี  พวกเราเป็นผู้ช่วยเหลือคนไข้ในหอผู้ป่วยใน  1  มีกันทั้งหมด  4  คน  ถ้าพูดถึงการทำงานของพวกเราในแต่ละวันที่ขึ้นเวร  ก็จะทำงานตั้งแต่ขึ้นเวรจนลงเวรแทบจะไม่มีเวลาได้พักเลย  เช่น  ดูแลการทำความสะอาดเตียงของคนไข้ที่กลับบ้าน  ดูแลความสะอาดเรียบร้อยของตึก  การแนะนำปฏิบัติตัวขณะนอนพักรักษาตัวในหอผู้ป่วยใน  1 เช่น  การใช้เตียง  การทิ้งผ้า  ทิ้งขยะ  การใช้ห้องน้ำ  การเบิกเครื่องมืออุปกรณ์ในหน่วยงาน  ถ้ามองผิวเผินเหมือนพวกเราไม่มีงานแต่ถ้าได้สัมผัสจะรู้ว่ามีงานจุกจิกมากมาย นอกจากงานประจำที่ทำแต่ละวันแล้ว  ยังได้รับให้ทำงานสร้างเสริมสุขภาพกับผู้ป่วยและญาติๆรายงานตัวชี้วัดรายบุคคล  เช่น  กิจกรรมยืดเหยียด  กิจกรรมแปรงฟันก่อนนอน  กิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระ  กิจกรรมทิ้งผ้า/ทิ้งขยะให้ถูกประเภทที่ต้องทำรายงานส่งหัวหน้าทุกสิ้นเดือน  นอกจากนั้นยังได้รับความไว้วางใจให้ช่วยสอนงานให้น้องใหม่ซึ่งเป็นน้องพยาบาลและน้องผู้ช่วยเหลือคนไข้ที่จะเข้ามาทำงานในหอผู้ป่วยใน  1  ด้วย  ซึ่งน้องใหม่เข้ามาในตึกว่าจะทำอะไรให้กับผู้ป่วยบ้าง  เช่น  การวัดความดันโลหิต  วัดไข้  จับชีพจร  การนับหายใจ  ถ้าวัดแล้วอาการของผู้ป่วยผิดปกติต้องแจ้งพยาบาลทุกครั้งและการแนะนำสถานที่ให้กับผู้ป่วยและญาติในการมารักษาตัวในโรงพยาบาล  การลงบันทึก  v/s  ในฟอร์มปรอทว่าลงอะไรบ้าง  อุณหภูมิ ความดันโลหิต การหายใจใช้ปากกาสีน้ำเงิน ส่วนปากกาสีแดงลงชีพจร  การเตรียมอุปกรณ์ช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉินต้องเตรียมอะไรบ้าง เช่น  การติดเกย์ออกซิเจน  ติดเครื่องดูดเสมหะ  และการเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือในการทำหัตถการต่างๆ  การเข้าช่วยพยาบาลในการเข้าทำหัตถการต่างๆ  สิ่งที่ได้สอนน้องมาถ้าหากไม่เข้าใจหรือมีปัญหาอะไรระหว่างการทำงานก็สามารถปรึกษาพยาบาลระหว่างเวรได้  นอกจากนี้ในตึกของเรายังมีการสอนผู้ช่วยเหลือคนไข้ในเรื่องการใช้ออกซิเจน  การใช้เครื่องดูดเสมหะ  การดูแลสาย  NG  การเตรียมหัตถการ  การบำรุงรักษาเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์  การเจาะและอ่าน  DTX  และ  HCT  พวกเราผู้ช่วยเหลือคนไข้ในหอผู้ป่วยใน  ได้รับการฝึกฝนทบทวนอยู่ตลอดเวลา  เพื่อให้พวกเรามีความพร้อมที่จะได้ดูแลผู้ป่วยให้บรรเทาความเจ็บป่วยและได้กลับบ้านไปอยู่กับครอบครัวอย่างมีความสุข

พี่สอนน้อง Ward 1


    พี่ขวัญจะแนะนำการดูแลและวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยระยะสุดท้าย  สำหรับแนวทางการดูและผู้ป่วยระยะสุดท้ายหอผู้ป่วยใน  โรงพยาบาลด่านซ้าย  ตั้งแต่ปี 2554  แบ่งเป็น  ประเภทคือ  ประเภทแรกผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ดูแลแบบประคับประคอง  และประเภทที่  เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ใกล้ตาย          การที่จะเข้าสู่การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายนั้นจะต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ก่อนว่าผู้ป่วยรายนี้  เข้าสู่ระยะสุดท้ายของชีวิตหรือยัง  และก่อนที่จะดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายนั้น  เจ้าหน้าที่บุคลากรที่เกี่ยวข้องจะต้องมีความเข้าใจพื้นฐานก่อน  ในชีวิตของมนุษย์  และสรรพสัตว์ในโลกนี้          ร่างกายและจิตใจของมนุษย์  ตามหลักพุทธศาสนา  แท้ที่จริงคือรูปกับนาม  รูปคือการประชุมรวมกันของธาตุทั้ง  4  คือ  ดิน  น้ำ  ลม  ไฟ  หากเกิดความไม่สมดุลของธาตุใดธาตุหนึ่ง  จะทำให้เกิดความเจ็บป่วย  จนถึงเสียชีวิตได้
      1.  ธาตุดิน  ในร่างกายคนเรามี  20  อย่าง  คือ  ผม  ขน  เล็บ  ฟัน  หนัง  เนื้อ  เอ็น  กระดูก  เยื่อในกระดูก  ม้าม  หัวใจ  ตับ  พังผืด  ไส้อ่อน  ไส้ใหญ่  อาหารใหม่  อาหารเก่า  มันสมอง
      2.  ธาตุน้ำ  คือของเหลวที่อยู่ในร่างกาย  เช่น  ดี  เสลด  หนอง  เลือด  เหงื่อ  มัน
      3.  ธาตุไฟ  คือ  อุณหภูมิในร่างกาย  รวมถึงไฟธาตุ (อุณหภูมิที่ย่อยอาหารได้)
      4.  ธาตุลม  คือ  ลมที่อยู่ในร่างกาย  ถ้าพัดขึ้นข้างบน เช่น การหาว  การเรอ  ถ้าพัดลงข้างล่าง  เช่น การผายลม  ลมในท้องทำให้ปวดเส้นท้อง  ลมที่พัดทั่วร่างกาย  ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้  และลมหายใจเข้า-ออก
    ธาตุทั้งหลายมีลักษณะของตนโดยเฉพาะ  ไม่มีสิ่งใดเป็นตัวตนเรา  เขา  ฉะนั้นจึงพิจารณาลักษณะที่แท้จริงโดยความเป็นธาตุไว้  เพื่อจะได้ไม่ทุกข์กังวลกับการเสื่อมนาม  คือจิตใจเป็นธรรมชาติ  รับรู้สิ่งต่าง ๆ  คือรู้อารมณ์ทำหน้าที่เห็น  ได้ฟัง  รู้กลิ่น  รู้รส  รู้สึกต้องการสัมผัส   ถูกต้องทางกาย และความรู้สึกนึกคิดทางจิตใจ
   จิตมีอำนาจสั่งสมกรรม  กรรมทั้งหลายที่ทำลงไปแล้วถูกตรึงไว้ด้วยอำนาจของจิตเมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าผู้ป่วยรายใดเข้าสู่ระยะสุดท้ายของชีวิตแล้ว  พยาบาลที่ดูแลจะต้องประเมินและแยกประเภทออกเป็นแบบระคับประคอง  และแบบผู้ป่วยใกล้ตายโดยใช้  PPS Scale ถ้าคะแนนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30 % ถือว่าเป็นคนไข้ที่ใกล้ตาย 
   ในทางกาย ก็จะดูแลให้ผู้ป่วยได้รับความสุขสบายตามแผนการพยาบาล  และลดความทุกข์ทรมานตามแผนการรักษา  ของแพทย์ตามอาการ  ติดตามการดำเนินโรคของผู้ป่วย  การดูแลให้อยู่ในห้องแยกพิเศษเป็นสัดส่วน  จะต้องอธิบายวิธีการใช้ห้องให้ผู้ป่วยและญาติรับทราบด้วย  เช่น  การเปิด VCD ธรรมะการอ่านหนังสือสวดมนต์การเก็บหนังสือในชั้นวาง  ถ้าห้องไม่ว่างให้ดูแลผู้ป่วยในห้องรวม  โดยผู้ป่วยต้องได้รับความสุขสบายตามความเหมาะสม
  ในทางด้านจิตใจ  การดูแลผู้ป่วยตามแนวทางวิถีพุทธก็จะแบ่งเป็นระดับการดูแลโดยคำนึงถึง สภาวะจิตใจ  และศรัทธาที่ผู้ป่วยมีต่อพระพุทธศาสนา โดยแบ่งเป็น  4 ระดับ คือ
     ระดับ  ผู้ป่วยที่มีจิตในเข้มแข็ง  มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างสูง  เข้าใจธรรมะขั้นสูง มีการเจริญภาวะนาเป็นประจำ  ผู้ป่วยกลุ่มนี้ จะได้รับการดูแลตามสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการ  เช่น  การฟังธรรมะ  สวดมนต์ไหว้พระ  ทำบุญถวายทาน  การเจริญสติตามแนวทางที่เคยปฏิบัติ  การปลดเปลื้องสิ่งที่ค้างคาใจ  พิธีขออโหสิกรรม
    ระดับ  B ผู้ป่วยที่มีจิตใจศรัทธาในพระพุทธศาสนาในระดับกลาง ๆ คือผู้ที่มีศรัทธาชอบทำบุญรักษาศีล แต่ไม่ค่อยเจริญภาวนา คนกลุ่มนี้จะได้รับการดูแลในสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการ เช่น การฟังธรรม สวดมนต์ไหว้พระถวายทาน ปลดเปลื้องสิ่งที่ค้างคาใจ พิธีขออโหสิกรรม
    ระดับ  ผู้ป่วยที่มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาน้อย  มีความเชื่อ ศรัทธา แต่ไม่ค่อยได้ทำบุญตักบาตร ทำบุญตามที่เคยทำตาม ๆ กันมา  คนกลุ่มนี้จะไดรับการดูแลในสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการ  เช่น  การทำบุญตักบาตร  ถวายทาน  สวดมนต์  ไหว้พระ  เปิดเทปธรรมะ  ปลดเปลื้องสิ่งที่ค้างคาใจ  ทำพิธีขออโหสิกรรม
      ระดับ  ผู้ป่วยที่มีศรัทธาในพุทธศรัทธาน้อยมาก  ไม่ค่อยได้ทำบุญทำทาน  ชีวิตส่วนใหญ่อยู่กับการทำงานทำมาหากินเลี้ยงชีพ  คนกลุ่มนี้จะดูแลโดยได้อยู่ท่ามกลางบุคคลที่รัก  พูดถึงสิ่งดี ๆ ในชีวิต  ปลดเปลื้องสิ่งที่ค้างคาใจ  ให้ได้รับสุข ทางรูป  รส  กลิ่น  เสียง  ทำพิธีขออโหสิกรรม
  การให้การพยาบาลทุกครั้งจะต้องใช้การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย  ร่วมกับครอบครัวและบุคคลใกล้ชิดของผู้ป่วยด้วย  และให้ข้อมูลที่เป็นจริงกับผู้ป่วยและญาติให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ  ว่าจะทำอย่างไรกับช่วงชีวิตสุดท้ายที่เหลืออยู่
    -  ผู้ป่วยประคับประคองจะได้ทำในสิ่งที่ค้างคาใจ ทำพินัยกรรมชีวิตของตัวเอง
    - ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ถ้ายังมีสติอยู่ สามารถที่จะเลือกได้ว่าจะเสียชีวิตที่บ้านหรือที่โรงพยาบาล และถ้าผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ให้ญาติที่ใกล้ชิดตัดสินใจ พยาบาลเป็นเพียงผู้ให้ข้อมูล ไม่ใช่ผู้ตัดสินใจ
    -  ผู้ป่วยที่เสียชีวิตในโรงพยาบาล การดูแลด้านร่างกาย เช่น อาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกาย 
การแต่งตัว  สวมเสื้อผ้าให้เรียบร้อย
   -  การแนะนำญาติเรื่องใบมรณบัตร  แนะนำญาติเรื่องขั้นตอนต่าง ๆ ทางกฎหมาย  และระเบียบการติดต่อรับศพก่อนออกจากโรงพยาบาล
   - การดูแลด้านจิตใจญาติและครอบครัวหลังการเสียชีวิต  ด้วยความเอาใจใส่และเข้าใจ  
   ผู้ป่วยที่ญาติขอกลับไปเสียชีวิตที่บ้าน  พยาบาลจะต้องให้ข้อมูล  คำแนะนำการดูแลผู้ป่วยที่ใกล้เสียชีวิต  การให้ความมั่นใจในการผู้ดูแลเป็นสิ่งสำคัญ  ให้เบอร์โทรศัพท์หอผู้ป่วยใน  1 กับญาติไว้เพื่อประสานและโทรฯมาปรึกษาเกี่ยวกับอาการคนไข้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง  และให้ข้อมูลการดูแลผู้ป่วยหลังเสียชีวิตและขั้นตอนทางกฏหมายเมื่อผู้ป่วย   เสียชีวิตที่บ้านด้วย
  การดูแลทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นข้อมูลที่น้องใหม่และพยาบาลทุกคนในหอผู้ป่วยใน  ต้องรับทราบและปฏิบัติ  ในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย ให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด  และตายอย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
    สิ่งที่น้อง ๆ ทำได้ดีคือ  การประเมินคนไข้และเมื่อรับเข้ามาในตึก  ผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่เข้ามา ถ้ามีอาการเปลี่ยนแปลงน้อง ๆ ในเวรก็มีการเข้าไปพูดคุยกับผู้ป่วยเป็นระยะ  ถึงแม้งานในตึกจะยุ่งยังไงก็ตาม 
   ในเวลาที่กล่าวขออโหสิกรรมผู้ป่วยในน้อง ๆ บางคนที่ไม่ค่อยได้ทำ  แต่เมื่อได้รับ มอบหมาย จากพี่หัวหน้าเวรก็จะมีการซ้อมอ่านคำอโหสิกรรม  ก่อนพาญาติขอขมาผู้ป่วย  เมื่อถึงเวลาจริง ๆ ก็สามารถทำได้ด้วยความมั่นใจ..
  คุณป้าคนหนึ่งที่ป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายเข้ามารับการรักษาแบบประคับประคองที่เรา  คุณป้าเป็นคนรักสวยรักงามมากและสภาพจิตใจเข้มแข็ง  เข้ามาตอนแรกคุณป้ายังพูดคุยรู้เรื่องบอกกับเราว่า  “ช่วยแต่งหน้าให้ป้าด้วยเมื่อถึงวันที่ป้าต้องไป ป้าอยากไปแบบสวยๆ” และแล้ววันนั้นก็มาถึง วันที่คุณป้าจากเราไปไม่มีวันกลับ น้องปิกนิกพยาบาลน้องใหม่ของเราได้ช่วยแต่งหน้าให้คุณป้า น้องได้พยายามทำและแต่งหน้าให้คุณป้าสวยที่สุด ใบหน้าของคุณป้าดูสวยเหมือนคนที่กำลังนอนหลับสนิท  ญาติๆของคุณป้าประทับใจมาก ขอบคุณด้วยความซาบซึ้ง   “เป็นครั้งแรกที่หนูแต่งหน้าศพ” น้องปิกนิกบอก...
   และความรู้สึกที่เหมือน ๆ กันของพวกเราเกือบทุกคนก็คือ  เมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตในเวรดึก.. มันออกจะดูวังเวงสักหน่อย  เพราะเราขึ้นเวรกันแค่ 3 คน คือพยาบาล  คน  ผู้ช่วยเหลือคนไข้  คน นอกนั้น  ญาติและผู้ป่วยส่วนใหญ่จะนอนหลับกันหมด..
  ในเวรนั้นพวกเราก็จะรักกันมากเป็นพิเศษ...  ไปไหนก็ต้องไปด้วยกัน ...เกาะกลุ่มกันไว้ ... เปิดไฟให้สว่างทั่วตึก  เวลาเข้าไปดูว่า Formalin ที่ drip ไว้หมดหรือยัง  เราจะต้องมีเพื่อนเดินไปด้วยกันเสมอ  มันก็มีบ้างแต่ไม่ทุก Case หรอกนะค่ะ  น้องใหม่ ward 1 สู้ ๆ ค่ะ

พี่สอนน้อง Ward 1



    จากการทำงานตลอดระยะเวลา  ปีที่ผ่านมา  ดิฉันได้รับการสอนน้องถึง  รุ่น  ซึ่งเรื่องที่ฉันได้สอนได้แก่  เรื่อง  โรคหัวใจและหลอดเลือด  แยกเป็นผู้ป่วย Stroke และ ผู้ป่วย CHF ,  การแยกประเภทผู้ป่วยการลงบันทึกกิจกรรมการพยาบาล  ซึ่งในปีแรก ๆ ดิฉันก็ไม่ได้เก่งและมีความชำนาญมากนัก  เป็นแค่ผู้ช่วยคุณพรพิมล  ธนะบุตร ที่เป็นรุ่นพี่ของดิฉัน  และเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องดังกล่าว  แต่หลังจากที่คุณพรพิมลย้ายไป ดิฉันก็ได้รับหน้าที่อย่างเต็มตัว  ดิฉันทำงานดังกล่าว  ปี  โดยไม่มีผู้ช่วย  ลองผิดลองถูกและปรึกษากับหัวหน้าและทีมการพยาบาลในหอผู้ป่วยใน  1    ซึ่งถือว่าเป็นตัวช่วยและกระตุ้นให้ดิฉันทำงานนี้ได้  และหลังจากนั้นปีที่  ฉันก็ได้น้องใหม่มาช่วย  คน  คือ  น้องศิริพร  ชรินทร์  ฉันดีใจมากที่ตอนนี้ฉันมีผู้ช่วยแล้ว  โดยไม่ต้องทำงานโดดเดี่ยวอีกต่อไป  ซึ่งน้องเป็นคนขยัน  มีความมุ่งมั่นในการทำงาน  รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย  แบ่งเบาภาระงานของฉันได้มาก  ฉันรู้สึกอบอุ่นใจ  ถ้าหากฉันหยุดงานหรือลาพักผ่อน  อย่างน้อยน้องก็สามารถเป็นตัวแทนที่จะทำงานดูแลผู้ป่วยและดูแลการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยได้อย่างครอบคลุม
         เรื่องแรกที่ฉันสอน  คือ  การทำ D/C Plan ผู้ป่วย Stroke เนื่องจากหอผู้ป่วยใน  1  ต้องรับผู้ป่วยหนัก,  ผู้ป่วยสูงอายุซึ่งมีภาวะเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรค,  ผู้ป่วยที่กลับมา หลังจาก Refer มาจากโรงพยาบาลเลย  ดังนั้นก็แน่อยู่แล้วที่ตึกของดิฉันจะต้องมีผู้ป่วย  Storke  มา Admit   ซึ่งต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลอย่างน้อย  4-5 วัน  จนจำหน่าย กลับบ้าน พยาบาลหอผู้ป่วยใน  1  ทุกคนรู้ว่าต้องประเมินการทำ  D/C Plan Storke ไว้ ให้ดิฉันเพื่อประเมินและวางแผนการจำหน่าย มีการลงข้อมูลบางส่วนให้  และส่วนที่พยาบาลไม่ชอบลงข้อมูลคือ  ด้านความสามารถตามดัชนีบาร์เธอ เอดีแอล (Barthel ADL  Indey)  และแบบประเมิน  NIHSS (The  National Institute of Health Stroke Scale (0-42) )    ซึ่งชื่อหัวข้อก็น่ากลัวแล้ว    แถมในใบประเมินทุกตัวก็เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด  ซึ่งคนที่ชอบประเมินให้ฉันคือ พญ.ทิพพาวดี  สืบนุการณ์  ส่วนน้องใหม่ที่สอนก็จะทำในช่วงแรก  แต่หลังจากนั้นก็ว่างเหมือนเดิม  จะทำบ้าง Barthel ADL Indey แต่ปีนี้ดิฉันได้ทำแบบประเมิน  NHISS  เป็นภาษาไทยแล้ว  ก็หวังว่าพยาบาลทุกคนจะทำแบบประเมินให้  และกรอกข้อมูลลงใน  D/C Plan  Stroke ให้ดิฉัน  อย่างน้อยน้องศิริพร  คนหนึ่งที่ต้องช่วยทำแน่ๆ
        ส่วนเรื่องที่สองคือ  D/C Plan CHF  อย่างน้อยหอผู้ป่วยใน ต้องมีผู้ป่วย Admit 2-3 คน / เดือน  เรื่องนี้ไม่ค่อยจะมีปัญหา เพราะเป็นเรื่องที่ง่าย  เป็นการประเมิน และค้นปัญหาของผู้ป่วย  ปัญหาส่วนมากของผู้ป่วยก็คือการกินอาหารที่มีรสเค็ม  และการเติมผงชูรสในอาหาร  ส่วนใหญ่ผู้ป่วย  และญาติก็จะทราบการดูแลตนเองแต่ไม่ได้ปฏิบัติตาม  และส่วนที่ทุกคนจะไม่ลงข้อมูลอีกส่วนหนึ่งคือ  การให้ความรู้เรื่องยา  คงคิดว่าเป็นหน้าที่ของเภสัชกร  ที่จะต้องเป็นผู้ให้ความรู้แต่เภสัชกร จะเข้ามาดูผู้ป่วยในรายที่มีปัญหา หรือแพทย์ Consult เท่านั้น  ที่เหลือก็เป็นหน้าที่ของเรา  อย่างน้อยก็ช่วยเขียนชื่อยาให้ดิฉันก็ยังดี  แต่ตอนนี้ดิฉันได้จัดหาเอกสารเกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือด (จัดทำโดยคุณปัญญาภรณ์)    มาไว้ที่ตึกแล้ว  อย่างน้อยก็มีเจ้าหน้าที่นำไปให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วย  และญาติได้  ในเอกสารจะมีชื่อยาข้อบ่งใช้อาการข้างเคียง, ซึ่งส่วนใหญ่เป็นยาที่ใช้บ่อย  และมีใช้ในโรงพยาบาลของเรา  ส่วนการแนะนำของดิฉันส่วนใหญ่จะแนะนำว่าเป็นยาอะไร  และยาดังกล่าว  จะมีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง  เช่น ยา Furosemide  เป็นยาขับปัสสาวะลดบวม   อาการข้างเคียง  คือ  ปัสสาวะบ่อย  ปวดศรีษะอ่อนเพลีย, ใจสั่น  ฯลฯ  ซึ่งผู้ป่วย  และญาติต้องทราบข้อมูลนี้เพื่อการดูแลตนเองที่ถูกต้อง
 
            ส่วนเรื่องสุดท้าย คือการสอนการแยกประเภทผู้ป่วย  และการลงบันทึกกิจกรรมการพยาบาล  การแยกประเภทผู้ป่วย  เราก็จะเน้นที่ผู้ป่วยหนัก  4a  คือผู้ป่วยหลังผ่าตัดผู้ป่วยที่ให้ยา  Dopamine  ,  ผู้ป่วยที่ต้อง Obs. N/S  และ V/S ทุก 1-2 ชั่วโมงผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะ Shock ทำให้เห็นภาระงานของเรา  รองลงมาก็ประเภท  3a  คือผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้   ผู้ป่วยที่  On O2 Cannula หรือ On Mask ตลอดเวลาผู้ป่วย On ICD,  ผู้ป่วยหลัง off  Dopamine ,  ผู้ป่วยที่มีภาวะ Hypo- Hyperglycemia บ่อย ๆ ผู้ป่วยที่ UGIH  ต้องให้เลือดและเจาะ Hct ทุก 6 ชั่วโมง ฯลฯ และผู้ป่วยประเภท  2 กับ 1 ก็จะน้อยมาก  เพราะถือว่าเป็นผู้ป่วยที่ไม่ต้องการดูแลอะไรมาก  พร้อมที่จะ D/C  ได้ ส่วนผู้ป่วยประเภท  1 D  ของดิฉัน คือ  ผู้ป่วยที่ของลากลับบ้าน  หรือขอไป F/U  ที่โรงพยาบาลเลย  เพราะเราไม่ต้องดูแลผู้ป่วยเลย  ส่วนการลงบันทึกกิจกรรมการพยาบาลถือว่าเป็นเรื่องที่ง่าย  ขึ้นอยู่กับน้องใหม่ หรือเจ้าหน้าที่จะลงข้อมูลกันหรือไม่  ดิฉันจะให้น้องลงกิจกรรมตอนสอนน้องช่วงแรก ๆ จะมีปัญหาบ้างก็คือ  ไม่ลงกิจกรรมนั้นไว้ก่อน  ทำให้ Loss กิจกรรมบางอย่างที่ทำหลังจากลงบันทึกส่วนพี่เก่าที่เจอเป็นประจำ  คือ  ลืมลงบันทึกกิจกรรม  เวรใดเวรหนึ่ง  หรือลืมลงกิจกรรมบางอย่าง  ดิฉันก็จะตามหัวหน้าเวรนั้นมาลงให้  เพราะกิจกรรมการพยาบาลถือเป็นหน้าที่ Incharge ในเวรนั้น ๆ ที่จะต้องลงบันทึก  นอกจาก Incharge มอบหมายให้คนใดคนหนึ่งลง  ส่วนน้องใหม่ก็ต้องรอเป็น Incharge ก่อนค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2555

พยาบาลวิชาชีพ


          เข้าทำงานที่หอผู้ป่วยใน  1  ต้นปี  2549  ประสบการณ์ทำงานจากการเรียนในชั้นเรียนก็เป็นเพียงพื้นฐานในการทำงานของวิชาชีพพยาบาลเท่านั้น  เพราะการทำงานจริงกับการเรียนและการฝึกงานมันแตกต่างกันมาก  เข้ามาทำงานช่วงแรกก็รู้สึกเครียดไม่รู้จะทำงานยังไง  ทำถูกหรือเปล่า  แต่ก็มีรุ่นพี่คอยแนะนำ  คอยบอกแนวทางในการปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรฐานวิชาชีพ  บางอย่างก็สร้างพลิกแพลงได้ตามบริบทของโรงพยาบาลแต่ต้องอยู่ในความถูกต้องและตามมาตรฐานวิชาชีพพยาบาล  หลังจากนั้นทำงานได้  1-2  ปี  ก็มีรุ่นน้องและพี่ที่ย้ายมาทำงานที่หอผู้ป่วยใน  1 ของเรา    ให้ดิฉันคอยสอนงานเช่นกันเป็นรุ่นๆ  ไป  ก็รู้สึกเครียดเหมือนกัน  เพราะต้องเป็นคนถ่ายทอดความรู้สึกตอนนั้นที่ถ่ายทอด คือ  ไม่รู้ว่าเราถ่ายทอดประสบการณ์และเทคนิคต่างๆ  ในการทำงานถูกต้องตามมาตรฐานที่วางไว้เสมอ  ก่อนจะทำอะไรกับคนไข้ไม่แน่ใจว่าทำงานนึกถึงความปลอดภัยของคนไข้เป็นสำคัญ  และเอาใจคนไข้มาใส่ใจเรา
                งานที่ได้รับมอบหมายเป็นหลักช่วงแรก  คือ  งานการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย  เป็นงานใหม่สำหรับดิฉันมากต้องอ่านหนังสือมาคอยถ่ายทอดและศึกษาข้อมูลต่างๆ  เพราะไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน  และรู้สึกว่าวัยวุฒิของตัวเองไม่เหมาะสมและมันเป็นเรื่องยากมากกับการที่เราจะทำให้ใครสักคนตายอย่างสงบ  เพราะต้องใช้ศาสตร์และศิลป์หลายอย่างประกอบกัน  แต่ก็จำเป็นต้องทำและรับผิดชอบเพราะเป็นหน้าที่ทำและถ่ายทอดประมาณกลางปี  52  พี่ขวัญ  (กันตพัฒน์  อภิญญาฐิติพงษ์)  ได้ย้ายเข้ามาทำงานในหอผู้ป่วยใน  1  ซึ่งก็ได้รับการถ่ายทอดการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย  คราวนี้แตกต่างกว่าทุกครั้ง  เป็นการถ่ายทอดสู่รุ่นพี่รู้สึกประทับใจ  เพราะว่าพี่ขวัญมีพื้นฐานด้านนี้อยู่แล้ว  เป็นคนธรรมะทำโมอยู่แล้ว  พี่เขาจะเข้าใจง่ายและรู้สึกว่าทำงานได้ดีกว่าเรา  และเหมาะสมกว่าทั้งคุณสมบัติ  องค์ความรู้  วัยวุฒิ  พี่ขวัญทำได้ดี  ซึ่งทำให้การถ่ายทอดงานครั้งนี้และได้ทำมาเรื่อยๆ  หัวหน้าได้มอบหมายงานนี้ให้  พี่ขวัญรับผิดชอบโดยตรงในปีงบ  55  ก็รู้สึกดีที่มีพี่ขวัญคอยรับผิดชอบงานตรงกับคน  คนตรงกับงาน  ทำให้การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นไปด้วยดี  และมีการพัฒนาเป็นระยะๆ

พยาบาลวิชาชีพ


ประสบการณ์ของเราต้องเล่าต่อ  ดิฉันทำงานที่  IPD1  ประมาณ  2  ปี  ได้รับมอบหมายให้ทำงานเก็บตัวชี้วัด  เรื่องโรคที่ป้องกันได้  5  โรค  งานของดิฉันอาจจะดูง่ายและไม่ค่อยน่าสนใจ แต่จริงๆ  แล้วงานนี้ทำให้ดิฉันสนุกกับการทำงานทำให้ต้องอธิบายในโรคง่ายๆแต่ไม่ง่ายสำหรับคนป่วยใน  IPD1  ของเราซึ่งบางโรคชาวบ้านยังไม่รู้ถึงวิธีการดูแลตัวเองเลย  สิ่งง่ายๆ  เหล่านี้ดูมีค่าและมีความหมายสำหรับดิฉันและคนไข้หลายๆ  คน
ประสบการณ์ดีๆ  เหล่านี้  แน่นอนมันต้องเผยแพร่ซึ่งปีนี้ดิฉันได้เป็นรุ่นพี่แล้ว  น้องก้อนและน้องจ้อย  พยาบาลน้องใหม่ที่มาพร้อมกับสมองใหม่เอี่ยม  ขอรับสิ่งใหม่ๆ  กับการทำงานครั้งแรกของพวกเขา  ดิฉันต้องสอนรุ่นน้องทั้ง  2  คน  ให้รู้จักงานเรื่องการเก็บตัวชี้วัดที่ดิฉันรับผิดชอบ  น้องทั้ง  2   ต้องเรียนรู้การเก็บงานหลายๆ  เรื่องจากรุ่นพี่ทุกคนในตึกรวมทั้งของดิฉัน  น้องก้อนและน้องจ้อยตั้งใจฟังคำอธิบายวิธีการทำงานของดิฉันและตั้งใจที่จะลองสอนผู้ป่วย  ไม่น่าเชื่อเลยความตั้งใจสอนเรื่องง่ายๆ  ของดิฉันยังมีน้องทั้ง  2  คน  คอยให้ความสนใจ  ดิฉันภาคภูมิใจทุกครั้งที่เห็นน้องทั้ง  2  คนตั้งใจสอนอธิบายความรู้และวิธีการการดูแลตัวเอง  การให้สุขศึกษากับคนไข้ในโรคที่สามารถป้องกันได้  และคนไข้ที่ตั้งใจฟังรวมทั้งสอบถามข้อสงสัย  ทำให้อัตราการ  Re-admit ด้วยโรคที่ป้องกันได้ลดลง จากจุดเล็กๆ ที่มีการให้สุขศึกษาโดยใช้แฟ้มความรู้  เราก็มีการเพิ่มบอร์ดความรู้  แผ่นพับและมีการทบทวนความรู้โดยการทำแบบทดสอบ และมีการเปิดเสียงตามสายในช่วงบ่ายของทุกวันในเรื่องโรคที่ป้องกันได้และโรคที่พบได้บ่อยที่เข้ามานอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
                หลังจากนี้เรื่องโรคที่ป้องกันได้คงเป็นเรื่องง่ายๆ  สำหรับผู้ป่วยเพราะมีพยาบาลคอยใส่ใจ  และให้คำแนะนำ  ถ้ามีเพียงดิฉันคนเดียวที่คอยดูแลในเรื่องนี้งานนี้ก็คงจะไม่สำเร็จ  น้องทั้ง  2  คนก็เป็นกำลังสำคัญที่ทำให้งานนี้ประสบความสำเร็จ