วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พี่สอนน้อง Ward 1


    พี่ขวัญจะแนะนำการดูแลและวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยระยะสุดท้าย  สำหรับแนวทางการดูและผู้ป่วยระยะสุดท้ายหอผู้ป่วยใน  โรงพยาบาลด่านซ้าย  ตั้งแต่ปี 2554  แบ่งเป็น  ประเภทคือ  ประเภทแรกผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ดูแลแบบประคับประคอง  และประเภทที่  เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ใกล้ตาย          การที่จะเข้าสู่การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายนั้นจะต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ก่อนว่าผู้ป่วยรายนี้  เข้าสู่ระยะสุดท้ายของชีวิตหรือยัง  และก่อนที่จะดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายนั้น  เจ้าหน้าที่บุคลากรที่เกี่ยวข้องจะต้องมีความเข้าใจพื้นฐานก่อน  ในชีวิตของมนุษย์  และสรรพสัตว์ในโลกนี้          ร่างกายและจิตใจของมนุษย์  ตามหลักพุทธศาสนา  แท้ที่จริงคือรูปกับนาม  รูปคือการประชุมรวมกันของธาตุทั้ง  4  คือ  ดิน  น้ำ  ลม  ไฟ  หากเกิดความไม่สมดุลของธาตุใดธาตุหนึ่ง  จะทำให้เกิดความเจ็บป่วย  จนถึงเสียชีวิตได้
      1.  ธาตุดิน  ในร่างกายคนเรามี  20  อย่าง  คือ  ผม  ขน  เล็บ  ฟัน  หนัง  เนื้อ  เอ็น  กระดูก  เยื่อในกระดูก  ม้าม  หัวใจ  ตับ  พังผืด  ไส้อ่อน  ไส้ใหญ่  อาหารใหม่  อาหารเก่า  มันสมอง
      2.  ธาตุน้ำ  คือของเหลวที่อยู่ในร่างกาย  เช่น  ดี  เสลด  หนอง  เลือด  เหงื่อ  มัน
      3.  ธาตุไฟ  คือ  อุณหภูมิในร่างกาย  รวมถึงไฟธาตุ (อุณหภูมิที่ย่อยอาหารได้)
      4.  ธาตุลม  คือ  ลมที่อยู่ในร่างกาย  ถ้าพัดขึ้นข้างบน เช่น การหาว  การเรอ  ถ้าพัดลงข้างล่าง  เช่น การผายลม  ลมในท้องทำให้ปวดเส้นท้อง  ลมที่พัดทั่วร่างกาย  ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้  และลมหายใจเข้า-ออก
    ธาตุทั้งหลายมีลักษณะของตนโดยเฉพาะ  ไม่มีสิ่งใดเป็นตัวตนเรา  เขา  ฉะนั้นจึงพิจารณาลักษณะที่แท้จริงโดยความเป็นธาตุไว้  เพื่อจะได้ไม่ทุกข์กังวลกับการเสื่อมนาม  คือจิตใจเป็นธรรมชาติ  รับรู้สิ่งต่าง ๆ  คือรู้อารมณ์ทำหน้าที่เห็น  ได้ฟัง  รู้กลิ่น  รู้รส  รู้สึกต้องการสัมผัส   ถูกต้องทางกาย และความรู้สึกนึกคิดทางจิตใจ
   จิตมีอำนาจสั่งสมกรรม  กรรมทั้งหลายที่ทำลงไปแล้วถูกตรึงไว้ด้วยอำนาจของจิตเมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าผู้ป่วยรายใดเข้าสู่ระยะสุดท้ายของชีวิตแล้ว  พยาบาลที่ดูแลจะต้องประเมินและแยกประเภทออกเป็นแบบระคับประคอง  และแบบผู้ป่วยใกล้ตายโดยใช้  PPS Scale ถ้าคะแนนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30 % ถือว่าเป็นคนไข้ที่ใกล้ตาย 
   ในทางกาย ก็จะดูแลให้ผู้ป่วยได้รับความสุขสบายตามแผนการพยาบาล  และลดความทุกข์ทรมานตามแผนการรักษา  ของแพทย์ตามอาการ  ติดตามการดำเนินโรคของผู้ป่วย  การดูแลให้อยู่ในห้องแยกพิเศษเป็นสัดส่วน  จะต้องอธิบายวิธีการใช้ห้องให้ผู้ป่วยและญาติรับทราบด้วย  เช่น  การเปิด VCD ธรรมะการอ่านหนังสือสวดมนต์การเก็บหนังสือในชั้นวาง  ถ้าห้องไม่ว่างให้ดูแลผู้ป่วยในห้องรวม  โดยผู้ป่วยต้องได้รับความสุขสบายตามความเหมาะสม
  ในทางด้านจิตใจ  การดูแลผู้ป่วยตามแนวทางวิถีพุทธก็จะแบ่งเป็นระดับการดูแลโดยคำนึงถึง สภาวะจิตใจ  และศรัทธาที่ผู้ป่วยมีต่อพระพุทธศาสนา โดยแบ่งเป็น  4 ระดับ คือ
     ระดับ  ผู้ป่วยที่มีจิตในเข้มแข็ง  มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างสูง  เข้าใจธรรมะขั้นสูง มีการเจริญภาวะนาเป็นประจำ  ผู้ป่วยกลุ่มนี้ จะได้รับการดูแลตามสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการ  เช่น  การฟังธรรมะ  สวดมนต์ไหว้พระ  ทำบุญถวายทาน  การเจริญสติตามแนวทางที่เคยปฏิบัติ  การปลดเปลื้องสิ่งที่ค้างคาใจ  พิธีขออโหสิกรรม
    ระดับ  B ผู้ป่วยที่มีจิตใจศรัทธาในพระพุทธศาสนาในระดับกลาง ๆ คือผู้ที่มีศรัทธาชอบทำบุญรักษาศีล แต่ไม่ค่อยเจริญภาวนา คนกลุ่มนี้จะได้รับการดูแลในสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการ เช่น การฟังธรรม สวดมนต์ไหว้พระถวายทาน ปลดเปลื้องสิ่งที่ค้างคาใจ พิธีขออโหสิกรรม
    ระดับ  ผู้ป่วยที่มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาน้อย  มีความเชื่อ ศรัทธา แต่ไม่ค่อยได้ทำบุญตักบาตร ทำบุญตามที่เคยทำตาม ๆ กันมา  คนกลุ่มนี้จะไดรับการดูแลในสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการ  เช่น  การทำบุญตักบาตร  ถวายทาน  สวดมนต์  ไหว้พระ  เปิดเทปธรรมะ  ปลดเปลื้องสิ่งที่ค้างคาใจ  ทำพิธีขออโหสิกรรม
      ระดับ  ผู้ป่วยที่มีศรัทธาในพุทธศรัทธาน้อยมาก  ไม่ค่อยได้ทำบุญทำทาน  ชีวิตส่วนใหญ่อยู่กับการทำงานทำมาหากินเลี้ยงชีพ  คนกลุ่มนี้จะดูแลโดยได้อยู่ท่ามกลางบุคคลที่รัก  พูดถึงสิ่งดี ๆ ในชีวิต  ปลดเปลื้องสิ่งที่ค้างคาใจ  ให้ได้รับสุข ทางรูป  รส  กลิ่น  เสียง  ทำพิธีขออโหสิกรรม
  การให้การพยาบาลทุกครั้งจะต้องใช้การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย  ร่วมกับครอบครัวและบุคคลใกล้ชิดของผู้ป่วยด้วย  และให้ข้อมูลที่เป็นจริงกับผู้ป่วยและญาติให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ  ว่าจะทำอย่างไรกับช่วงชีวิตสุดท้ายที่เหลืออยู่
    -  ผู้ป่วยประคับประคองจะได้ทำในสิ่งที่ค้างคาใจ ทำพินัยกรรมชีวิตของตัวเอง
    - ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ถ้ายังมีสติอยู่ สามารถที่จะเลือกได้ว่าจะเสียชีวิตที่บ้านหรือที่โรงพยาบาล และถ้าผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ให้ญาติที่ใกล้ชิดตัดสินใจ พยาบาลเป็นเพียงผู้ให้ข้อมูล ไม่ใช่ผู้ตัดสินใจ
    -  ผู้ป่วยที่เสียชีวิตในโรงพยาบาล การดูแลด้านร่างกาย เช่น อาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกาย 
การแต่งตัว  สวมเสื้อผ้าให้เรียบร้อย
   -  การแนะนำญาติเรื่องใบมรณบัตร  แนะนำญาติเรื่องขั้นตอนต่าง ๆ ทางกฎหมาย  และระเบียบการติดต่อรับศพก่อนออกจากโรงพยาบาล
   - การดูแลด้านจิตใจญาติและครอบครัวหลังการเสียชีวิต  ด้วยความเอาใจใส่และเข้าใจ  
   ผู้ป่วยที่ญาติขอกลับไปเสียชีวิตที่บ้าน  พยาบาลจะต้องให้ข้อมูล  คำแนะนำการดูแลผู้ป่วยที่ใกล้เสียชีวิต  การให้ความมั่นใจในการผู้ดูแลเป็นสิ่งสำคัญ  ให้เบอร์โทรศัพท์หอผู้ป่วยใน  1 กับญาติไว้เพื่อประสานและโทรฯมาปรึกษาเกี่ยวกับอาการคนไข้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง  และให้ข้อมูลการดูแลผู้ป่วยหลังเสียชีวิตและขั้นตอนทางกฏหมายเมื่อผู้ป่วย   เสียชีวิตที่บ้านด้วย
  การดูแลทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นข้อมูลที่น้องใหม่และพยาบาลทุกคนในหอผู้ป่วยใน  ต้องรับทราบและปฏิบัติ  ในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย ให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด  และตายอย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
    สิ่งที่น้อง ๆ ทำได้ดีคือ  การประเมินคนไข้และเมื่อรับเข้ามาในตึก  ผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่เข้ามา ถ้ามีอาการเปลี่ยนแปลงน้อง ๆ ในเวรก็มีการเข้าไปพูดคุยกับผู้ป่วยเป็นระยะ  ถึงแม้งานในตึกจะยุ่งยังไงก็ตาม 
   ในเวลาที่กล่าวขออโหสิกรรมผู้ป่วยในน้อง ๆ บางคนที่ไม่ค่อยได้ทำ  แต่เมื่อได้รับ มอบหมาย จากพี่หัวหน้าเวรก็จะมีการซ้อมอ่านคำอโหสิกรรม  ก่อนพาญาติขอขมาผู้ป่วย  เมื่อถึงเวลาจริง ๆ ก็สามารถทำได้ด้วยความมั่นใจ..
  คุณป้าคนหนึ่งที่ป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายเข้ามารับการรักษาแบบประคับประคองที่เรา  คุณป้าเป็นคนรักสวยรักงามมากและสภาพจิตใจเข้มแข็ง  เข้ามาตอนแรกคุณป้ายังพูดคุยรู้เรื่องบอกกับเราว่า  “ช่วยแต่งหน้าให้ป้าด้วยเมื่อถึงวันที่ป้าต้องไป ป้าอยากไปแบบสวยๆ” และแล้ววันนั้นก็มาถึง วันที่คุณป้าจากเราไปไม่มีวันกลับ น้องปิกนิกพยาบาลน้องใหม่ของเราได้ช่วยแต่งหน้าให้คุณป้า น้องได้พยายามทำและแต่งหน้าให้คุณป้าสวยที่สุด ใบหน้าของคุณป้าดูสวยเหมือนคนที่กำลังนอนหลับสนิท  ญาติๆของคุณป้าประทับใจมาก ขอบคุณด้วยความซาบซึ้ง   “เป็นครั้งแรกที่หนูแต่งหน้าศพ” น้องปิกนิกบอก...
   และความรู้สึกที่เหมือน ๆ กันของพวกเราเกือบทุกคนก็คือ  เมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตในเวรดึก.. มันออกจะดูวังเวงสักหน่อย  เพราะเราขึ้นเวรกันแค่ 3 คน คือพยาบาล  คน  ผู้ช่วยเหลือคนไข้  คน นอกนั้น  ญาติและผู้ป่วยส่วนใหญ่จะนอนหลับกันหมด..
  ในเวรนั้นพวกเราก็จะรักกันมากเป็นพิเศษ...  ไปไหนก็ต้องไปด้วยกัน ...เกาะกลุ่มกันไว้ ... เปิดไฟให้สว่างทั่วตึก  เวลาเข้าไปดูว่า Formalin ที่ drip ไว้หมดหรือยัง  เราจะต้องมีเพื่อนเดินไปด้วยกันเสมอ  มันก็มีบ้างแต่ไม่ทุก Case หรอกนะค่ะ  น้องใหม่ ward 1 สู้ ๆ ค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น