วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

วิชาชีพพยาบาล.......

        วิชาชีพพยาบาลเป็นวิชาชีพที่ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการทำงาน  ความรู้ที่มีในตำราต้องนำมาปฏิบัติกับผู้ป่วย  ซึ่งหมายถึง  ความเป็นความตาย  ฉะนั้นทุกอย่างที่ทำกับผู้ป่วยต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นหลักสำคัญ  แต่ก่อนที่จะได้ลงมือปฏิบัติกับผู้ป่วย  ย้อนไปอดีตขณะเป็นนักศึกษาพยาบาล  ก็จะมีอาจารย์พยาบาลเป็นคนกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด  จบเป็นพยาบาลใหม่เข้าทำงานจะมีพี่พยาบาลคอยดูแลทุกอย่างที่เราปฏิบัติกับผู้ป่วย  จะเห็นได้ว่าวิชาชีพเราเป็นวิชาชีพที่พี่สอนน้อง  เพราะน้องใหม่ที่จบมายังต้องเรียนรู้อะไรอีกเยอะนอกเหนือจากตำราที่เรียนมา 
       ผู้เขียนในฐานะที่เคยเป็นน้องใหม่  ประสบการณ์ต่างๆ  ที่พี่สอนรู้สึกประทับใจและเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้ผู้เขียนอยากถ่ายทอดประสบการณ์ที่ดีๆ  ในการทำงานแก่น้องพยาบาลที่จบใหม่  สิ่งที่ผู้เขียนได้รับมอบหมายให้ดูแลน้อง  เช่น  สิ่งปวดล้อมและความปลอดภัย  การดูแลผู้ป่วยวิกฤต  เครื่องมือและอุปกรณ์ที่สำคัญในหน่วยงาน  ผู้เขียนจะขอยกตัวอย่างประสบการณ์เกี่ยวกับเครื่องมือทางการแพทย์ในหน่วยงานที่สำคัญ  ได้แก่  Defibrillator,  EKG  Defibrillator  น้องใหม่ที่จบมาบางคนยังไม่เคยเห็นไม่เคยใช้  ติด  Lead  ยังไม่เป็น  ต้องบอกว่าแดงเหลืองเขียวติดบริเวณใดแล้ว  ยังมีคู่มือเป็นไกด์ติดไว้ที่ตัวเครื่องเพื่อได้ทบทวน  สิ่งที่สำคัญคือการดูแลรักษาหลังใช้งาน  ควรเช็ดเจล ออกจาก  papdle  ม้วนเก็บสายให้ดีไม่ให้สายแตกหัก  เพราะเคยมีสายแตกจนได้เปลี่ยนสายใหม่แล้ว   EKG  จะมีปัญหาน้องใหม่ติด  Lead  ยังไม่คล่อง  จึงต้องบอกว่าท่องจำได้จะเร็วขึ้น  คือเริ่มจากแดง  เหลือง  เขียว  น้ำตาล  ดำ  ม่วง  แต่ไม่จำก็ได้ให้ดูที่สีและคู่มือที่เป็นไกด์ไว้กับตัวเครื่อง  ที่สำคัญใช้งานเสร็จควรนับอิเล็กโทรตให้ครบ ห้ามหายห้ามแตก  และที่สำคัญเมื่อกระดาษหมด  เปลี่ยนใส่อย่างไรก็สำคัญ  ดังนั้น  หอผู้ป่วยเราจึงมีการดูแลตรวจสอบความพร้อมใช้ของเครื่องมือในหน่วยงานทุกวันเพื่อให้พร้อมใช้ในการช่วยเหลือผู้ป่วย
            จะเห็นได้ว่าบทบาทพยาบาลนอกจากจะดูแลผู้ป่วยแล้ว  ในองค์กรก็ต้องมีการดูแลซึ่งกันและกัน  โดยเฉพาะน้องใหม่เพราะยังขาดประสบการณ์ในการทำงานเพื่อให้ได้เป็นพยาบาลที่มีประสิทธิภาพเป็นคลื่นลูกใหม่ของวิชาชีพต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น